ฝ้า เกิดจากอะไร รักษาอย่างไร ฝ้ามีกี่ชนิด

ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ

เมื่อลงทะเบียนถือว่าท่านยอมรับ ข้อตกลงและเงื่อนไข และ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ฝ้าคืออะไร ทำไมใครๆ ถึงกังวล
หนึ่งสิ่งที่หลายๆ คน เมื่อเริ่มเข้าสู่อายุวัย 30 ปี มักจะกังวล คือ "ฝ้า (Melasma) " นั่นเอง และเหตุผลที่ผู้คนมักกังวลในการเกิดฝ้า (Melasma) ก็คือการที่ใบหน้าใสๆ สวยๆ ของเราจะต้องมีรอยด่าง ดำ ไม่สวยใสแบบเมื่อก่อน อีกทั้งในบางคน ฝ้า (Melasma) ที่ขึ้นนั้นก็ยังชัดจนเครื่องสำอางไม่สามารถกลบได้มิดก็มี แต่แล้วฝ้า (Melasma) เกิดจากอะไร ? สาเหตุอะไรที่ทำให้เกิดฝ้า (Melasma) ? มีวิธีหลีกเลี่ยงฝ้า (Melasma) อย่างไร ? ในบทความนี้มีคำตอบ

ฝ้า Melasma

ฝ้า (Melasma) เกิดจากอะไร รักษาอย่างไร

ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับสภาพผิวของแต่ละบุคคล

โดย ฝ้า (Melasma) เป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติในการ สร้างเม็ดสีของผิวหนังชนิดหนึ่ง ซึ่งความผิดปกติดังกล่าวนั้นส่งผลให้ผิวหนังปรากฏเห็นเป็นจุดสีน้ำตาลขนาดต่างๆ กระจายอยู่ทั่วบริเวณผิวหนัง โดยปกติแล้วลักษณะดังกล่าวจะเกิดขึ้นบนใบหน้าเป็นหลัก สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดฝ้า (Melasma) นั้นมีมากมายหลายอย่าง ทั้งปัจจัยภายในร่ากาย และภายนอกร่างกายนั่นเอง

ทำความรู้จักกับฝ้า (Melasma) โดยประเภทต่างๆ ของฝ้า (Melasma) โดยสามารถจำแนกประเภทของ ฝ้า (Melasma) ได้ดังนี้

ฝ้า Melasma

ฝ้า (Melasma) เกิดจากอะไร รักษาอย่างไร

ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับสภาพผิวของแต่ละบุคคล

1.ฝ้าตื้น (Epidermal type)
เป็นฝ้าที่จะเกิดขึ้นในบริวณผิวหนังกำพร้า หรือด้านนอกและบนสุดของชั้นผิวหนัง โดยฝ้าตื้น (Epidermal type) จะมีลักษณะเป็นผิวหนังที่เห็นเป็นลักษณะผิวหนังที่มีสีน้ำตาลเข้ม และบริเวณด้านขอบของสีที่เข้มนั้นฝ้าตื้น (Epidermal type) จะมีความเด่นชัดกว่าฝ้าชนิดอื่นๆ

ลักษณะพิเศษของฝ้าตื้น (Epidermal type) คือ การมีสีขอบที่เด่นชัด แต่กลับเป็นฝ้าที่ทำการรักษาได้ง่ายที่สุด

2.ฝ้าลึก (Dermal type)
ฝ้าชนิดนี้มีลักษณะในตัวเองที่อาจแตกต่างกันไป โดยสังเกตุได้จากสีที่จะมีสีน้ำตาลอ่อน เทา เทาอมฟ้า โดยอาจจะเป็นสีเดียวกันทั้งหมด หรือผสมผสานกันไป ตามแต่ลักษณะเดิมของผิว แต่ฝ้าลึก (Dermal type) จะมีลัษณะสีที่ชัดแต่ขอบจะมีสีอ่อน จาง ไม่ขัดเจน และเวลาดูผ่านๆ จะมีความกลมกลืนไปกับผิวและกระจายไปกับบริเวณผิวกว้างๆ โดยฝ้าลึก (Dermal type) จะเป็นจัดเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นในชั้นลึกกว่าฝ้าตื้น คือจะเกิดขึ้นจากความผิดปกติของชั้นผิวหนังแท้

ลักษณะของฝ้าลึก (Dermal type) จะเป็นฝ้าที่มีสีดูอ่อน แต่ความเป็นจริงกลับทำการรักษาได้ยาก เนื่องจากอยู่ในผิวหนังชั้นลึกกว่า ฝ้าตื้น (Epidermal type)

3.ฝ้าผสม (Mixed type)
ฝ้าชนิดนี้จะมีลักษณะที่เป็นการผสมผสานกันระหว่างฝ้า ฝ้าตื้น (Epidermal type) และฝ้าลึก (Dermal type) โดยจะมองเห็นได้ชัดว่ามีทั้งฝ้าที่มีขอบชัด และขอบจาง ที่มีหลากหลายสีเช่น น้ำตาลอ่อน น้ำตาลเข้ม และเทารวมผสมอยู่ด้วยกันในผิวหนังบริเวณเดียว และฝ้าผสม (Mixed type) จำเป็นที่จะต้องทำการรักษาโดยการใช้วิธีของฝ้าตื้น (Epidermal type) และฝ้าลึก (Dermal type) รวมกัน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในการรักษาที่ดีที่สุด

ลักษณะของฝ้าผสม (Mixed type) คือบริเวณที่เป็นฝ้าตื้นจะทำการรักษาให้จางได้ง่าย อาจจะเห็นผลลัพธ์ได้เร็วในการรักษาในส่วนฝ้าตื้น แต่สำหรับฝ้าลึกก็ยังจำเป็นจะต้องใช้เวลาและขั้นตอนอย่างค่อยเป็นค่อยไป จึงต้องทำการรักษาร่วมกันเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี

4.ฝ้าอื่นๆ ( Etc. )
ฝ้าอื่น คือ ลักษณะฝ้าที่เป็นรอยแดงของเส้นเลือด โดยจะมองเห็นฝ้าชนิดนี้มีลักษณะมองเห็นเป็นปื้นสีแดงๆ หรือเห็นเป็นเส้นเลือดฝอยเล็กๆ ทั่วใบหน้า หรืออาจเห็นเป็นรอยแดงน้ำตาล ชมพู ที่มีสีค่อยๆ เข้มขึ่นเรือยๆ ซึ่งฝ้าชนิดนี้นันเกิดจากความผิดปกติของเส้นเลือดฝอยบนใบหน้า และจะยิ่งเป็นมากขึ้นเมื่อตากแดดจัดๆ มากๆ เนื่องจากแสงแดดนั้นส่งผลต่อการกระจุกตัวของเส้นเลือดฝอย แต่แตกนั่นเอง

ลักษณะของ ฝ้าอื่นๆ (Etc. ) คือการมองเห็นเป็นเส้นเลือดเส้นเล็กๆ กระจาย บนใบหน้า โดยมีสีตั้งแต่ชมพู อ่อน ชมพูเข้ม ไล่ไปถึงสีน้ำตาล

ฝ้า Melasma

ฝ้า (Melasma) เกิดจากอะไร รักษาอย่างไร

ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับสภาพผิวของแต่ละบุคคล

สาเหตุของการเกิดฝ้า (Melasma) มีหลากหลายสาเหตุ คือ
1.พันธุกรรม (Genetic)
เม็ดสีผิว หรืออาการทางผิวเป็นสิ่งที่สามารถสืบทอดต่อกันได้ทางพันธุกรรม โดยอาจมีสิทธิ์ที่จะเป็น หรือไม่เป็นก็ได้ เนื่องจากเป็นเพียงอาการแฝงเท่านั้น ซึ่งในกรณีนี้ จัดเป็นอาการที่ไม่สามารถควบคุมได้

2.แสงแดด (Ultraviolet)
เป็นหนึ่งปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดฝ้า (Melasma) หรือเรียกได้ว่าเป็นตัวเร่ง หรือตัวกระตุ้นให้เกิดการสร้างเซลล์เม็ดสีผิวโดยตรงหรือทีเรียกกันว่า Melanocyte โดยแสงแดดจะเข้าไปสู่ผิว เร่งการสร้างเม็ดและทำให้เกิดการกระจายตัวของเม็ดสีออกสู่ผิวหนังชั้นต่างๆ เพื่อให้เกิดฝ้าชนิดต่างๆ และเร่งให้เกิดการเข้มของสีผิว จึงทำให้เกิดฝ้าที่มีความชัดขึ้นเรื่อยๆ

3.ฮอร์โมน (Hormone)
ฮอร์โมนเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดฝ้า (Melasma) โดยจะเห็นได้ชัดมากในกลุ่มหญิงที่ตั้งครรภ์อยู่ รวมไปจนถึงกลุ่มคนที่รับประทานยาคุมกำเนิดทั้งหญิงและชาย อีกทั้งยาคุมยังเป็นอีกหนึ่งส่วนใหญ่ๆ ที่ทำให้ยากต่อการทำการรักษาฝ้า (Melasma)

มีฝ้า (Melasma) ในปริมาณใด จึงสามารถทำการรักษาได้ และได้ผลดีที่สุด ?
การรักษาฝ้า (Melasma) ให้ได้ผลดี ควรทำการรักษาทันทีเมื่อทราบว่าตัวเองเป็นฝ้า หรือมีรอยด่างดำที่ไม่มีที่มา ไม่ควรรอให้เป็นเยอะ หรือมีสีชัด ควรทำการรักษารักษาตั้งแต่ยังมีฝ้า (Melasma) บริเวณใบหน้ายังไม่มาก หรือปรึกษาแพทย์ได้ในทันทีหากเกิดรอยด่างดำบนใบหน้าโดยไม่ทราบสาเหตุเพื่อไม่ให้เกิดการสะสม และทำให้รักษาได้ในอนาคต

วิธีการเลือกครีมกันแดด สำหรับป้องกันฝ้า (Melasma) ที่ถูกต้อง ต้องเลือกอย่างไร ?
ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า การทาครีมกันแดดนั้น ไม่ได้ทำให้ฝ้าหาย หรือจางลง เพียงแต่ในบางกรณีจะสามารถป้องกันการเกิดฝ้าเพิ่มในอนาคตได้ โดยการเลือกครีมกันแดดเพื่อป้องกันการเปิดฝ้านั้นจะต้องเลือกใช้ครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของ SPF50+ PA++ ขึ้นไป เนื่องจากปริมาณดังกล่าเป็น SPF และ PA ที่สามารถป้องกัน และปกป้องผิวจากรังสี UVA และ UVB ได้ทั้งยังป้องกันผิวจากแสงแดดได้อย่างเพียงพอ และการทาครีมกันแดดจะต้องทาในปริมาณ 1 ข้อนิ้วมือพูนๆ หรือกะเป็นหน่วยได้เท่ากับประมาณ 2 มิลลิกรัม ต่อตารางเซนติเมตร หากทาน้อยกว่านั้น ผิวหนังจะได้รับการปกป้องได้ไม่ดีเท่าที่ควร ที่สำคัญ ควรทาก่อนออกไปพบแสงแดด 10 – 30 นาทีก่อนเจอแสงแดด และควรทาซ้ำทุก 2 ชั่วโมง เพื่อได้ผลลัพธ์ที่ดี

ฝ้า Melasma

ฝ้า (Melasma) เกิดจากอะไร รักษาอย่างไร

ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับสภาพผิวของแต่ละบุคคล

วิธีการรักษาฝ้า (Melasma) ควรรักษาอย่างไร ?
• รักษาฝ้า (Melasma) ด้วยการทายา
การใช้ยารักษาฝ้า (Melasma) ต้องเป็นยาที่มีส่วนผสมของ ไฮโดรควิโนน (Hydroquinone) โดยอยากชนิดนี้เป็นยาที่ใช้เฉพาะที่ที่อันตราย และต้องได้รับการควบคุมโดยแพทย์เท่านั้น เนื่องจากเป็นตัวยาที่มีอันตรายหากใช้ในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้เซลล์เม็ดสีตาย เกิดเป็นโรคด่างขาวบนผิว ได้หากไม่อยู่ในการควบคุมของแพทย์

• รักษาฝ้า (Melasma) ด้วยการรับประทานยา
โดยยาที่อยู่ในกลุ่มTranexamic acid สามารถทำให้ฝ้าที่เป็นอยู่จางลงได้ ตามการวิจัย ทั้งนี้การรับประทานยาเพื่อรักษาฝ้านั้น จะเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอยู่ในการควบคุมของแพทย์ เนื่องจากยาชนิดนี้มีความอันตรายสูง เพราะมีผลต่อการแข็งตัวของเม็ดเลือด รวมทั้งยังมีผลข้างเคียงต่อเม็ดเลือด และเม็ดสีผิวอื่นๆ ด้วย

• รักษาฝ้า (Melasma) ด้วยการผลัดเซลล์ผิว
การผลัดเซลล์ผิวด้วยกรดกรดผลไม้ เป็นวิธีที่หลายคนเชื่อว่าจะทำให้ฝ้าหลุดออกได้ แต่ในทางกลับกัน วิธีนี้สามารถทำให้ฝ้าหลุดออกได้จริงแต่มีผลข้างเคียงมากมาย เช่นทำให้ผิวบาง หน้าไหม้ง่ายเมื่อเจอแสงแดด มีรอยด่างดำ อาจแพ้ หรือแสบได้ในบางกรณี

• รักษาฝ้า (Melasma) ด้วยการทำทรีตเมนต์
คือ กระบวนการปรนนิบัติผิวหน้า ที่จะช่วยขจัดปัญหาผิว ไม่ว่าจะเป็น ผิวหมองคล้ำ ผิวเสียโดยการฟื้นฟู บำรุง และให้สารอาหารตามความต้องการของผิว ช่วยให้ฟ้าจางลง

• รักษาฝ้า (Melasma) ด้วยการใช้ยาฉีด
คือ การใช้เข็มเล็กๆ ฉีดตัวยาเข้าไปในชั้นผิวตื้นๆ เป็นการกระจายของตัวยา รักษาฝ้า กระ ลงสู่ชั้นเซลล์ที่มีปัญหา โดยตัวยาจะเข้าไปยับยั้งการผลิตเม็ดสีผิว

• รักษาฝ้า (Melasma) ด้วยการทำเลเซอร์
เป็นวิธีที่ดีที่สุด หากทำโดยแพทย์ และใช้เครื่องที่ได้รับมาตรฐาน ในสถานบริการที่น่าเชื่อถือ และมีใบรับรอง ทั้งนี้ การทำเลเซอร์ให้ได้ผลที่ดี และไม่มีผลข้างเคียงคือต้องทำโดยแพทย์ เนื่องจาก แพทย์จะประเมิณอาการของฝ้า ความหนา ความลึก รวมทั้งปรับพลังงานได้อย่างเหมาะสม ไม่ทำให้ผิวไหม้ ไม่ทำให้ผิว บาง และยังสามารถเชื่อถือได้ ทั้งนี้ การรักษาจำเป็นต้องมาทำอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

ทั้งนี้การรักษาในทุกวิธีสามารถทำการรักษาได้ที่ Rassapoom Clinic ทั้ง 6 วิธี

ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ

เมื่อลงทะเบียนถือว่าท่านยอมรับ ข้อตกลงและเงื่อนไข และ นโยบายความเป็นส่วนตัว